อาการของพืชที่ขายธาตุโปแตสเซียม
1. ขอบใบเหลือง และกลายเป็นสีน้ำตาล
โดยเริ่มต้นจากปลายใบเข้าส่งกลางใบ ส่วนที่เป็นสีน้ำตาลจะแห้งเหี่ยวไป
จะเกิดจากใบล่างก่อน แล้วจึงค่อย ๆ ลามขึ้นข้างบน พืชที่เห็นชัดคือข้าวโพด
2. ทำให้ผลผลิตตกต่ำ พืชจำพวกธัญพืชจะทำให้เมล็ดลีบ มีน้ำหนักเบา
พืชหัวจะมีแป้งน้อยและน้ำมาก ข้าวโพดจะมีเมล็ดไม่เต็มฝัก
ฝักจะเล็กมีรูปร่างผิดปกติ ใบยาสูบมีคุณภาพต่ำ ติดไฟยาก กลิ่นไม่ดี
พืชจำพวกฝ้ายใบจะมีสำน้ำตาลปนแดง สมอฝ้ายที่เกิดขึ้นจะไม่อ้าเต็มที่เมื่อแก่
ธาตุอาหารรอง
3 ธาตุ
1. ธาตุแคลเซียม (Ca)เป็นธาตุที่ต้นพืชนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตในตัวพืช
ช่วยส่งเสริมการนำธาตุไนโตรเจนจากดินมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น ในระยะออกดอกและระยะที่สร้างเมล็ดพืชจะมีความจำเป็นมาก
เพราะธาตุแคลเซียมจะมีส่วนในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในพืช
เพื่อนำไปใช้ในการสร้างผลและเมล็ดต่อไป
อาการของพืชที่ขาดแคลเซียมจะพบมากในบริเวณยอด
และปลายราก ยอดอ่อนจะแห้งตาย และใบจะมีการการม้วนงอไปข้างหน้าและขาดเป็นริ้ว ๆ
ซึ่งจะเกิดที่ใบอ่อนก่อน แก้ไขโดยการใส่ปูนขาว หินปูนบด หินปูนเผา
เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน หรือการใส่ปุ๋ยคอกบำรุงดิน
2. ธาตุแมกนีเซียม (Mg) เป็นองค์ประกอบของส่วนที่เป็นสีเขียว
ทั้งที่ใบและส่วนอื่น ๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างอาหารและโปรตีนพืช
อาการขาดแมกนีเซียมจะสั่งเกตได้จาบใบพืช
ที่เหลืองซีดบริเวณเส้นกลางใบที่อยู่ใกล้กับผล ถ้าหากอาการขาดรุนแรงใบแก่จะมีอาการมากกว่าใบอ่อน
การขาดธาตุแมกนีเซียม
จะทำให้ผลผลิตลดน้อยลงและต้นพืชทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด
ซึ่งสาเหตุที่พืชขาดธาตุแมกนีเซียมนั้น
เพราะปริมาณแมกนีเซียมที่อยู่ในดินถูกชะล้างลึกลงไปเกินกว่าที่รากพืชจะดึงดูดมาใช้ได้
และการที่มีปริมาณโปแตสเซียมสะสมในดินมากเกินไปก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ
การแก้ไข สามารถทำได้โดยการปรับปรุงสภาพดิน
ความเป็นกรด ด่างของดินให้เหมาะสมต่อการดูดเข้าไปใช้ของพืช
และมีการใช้ปุ๋ยโปแตสเซียมที่พอเหมาะ ที่สำคัญก็คือ การฉีดพ่นทางใบด้วยธาตุอาหารเสริม
ซึ่งมีธาตุแมกนีเซียมในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที
3. ธาตุกำมะถัน (S) กำมะถันมีความจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนพืช
เป็นองค์ประกอบของวิตามินบางตัวที่มีผลทางอ้อมต่อการสร้างสีเขียวของพืช
ซึ่งจะช่วยให้เกิดการหายใจและการปรุงอาหารพืช
พืชที่ขาดกำมะถันจะมีเสียเขียวอ่อน หรือเหลืองคล้าย
ๆ อาการขาดไนโตรเจน ใบขนาดเล็กลง ยอดของพืชจะชะงักการเจริญเติบโต
ลำต้นและกิ่งก้านลีบเล็ก อาการขาดธาตุกำมะถันจะมีอาการแตกต่างจากขาดธาตุไนโตรเจน
คือจะปรากฏที่ยอดอ่อนก่อน ส่วนใบล่างยังคงปกติ ถ้าอาการรุนแรงใบล่างก็จะมีอาการด้วยเช่นกัน
ซึ่งจะตรงข้ามกับอาการของการขาดไนโตรเจน จะแสดงอาการที่ใบล่างก่อน
ดินที่มักพบเสมอว่าขาดธาตุกำมะถันคือ ดินทราย
ซึ่งมีอินทรีย์วัตถุน้อย การเพิ่มกำมะถันในดิน
นอกจากจะมีการใส่กำมะถันผงโดยตรงแล้ว การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด
ก็เป็นวิธีการแก้ปัญหาการขาดธาตุกำมะถันในดินได้เช่นกัน
แต่ข้อควรระวังในการใส่กำมะถันก็คืน
หากใส่มากเกินความจำเป็นจะทำให้ดินเป็นกรดได้
ธาตุอาหารเสริม
หรือจุลธาตุ 7 ธาตุ
1. ธาตุโบรอน (B) มีบทบาทเกี่ยวข้องต่อการดูดดึงธาตุอาหารพืช ช่วยให้พืชดูดเอาธาตุแคลเซียมและไนโตรเจนไปใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชใช้ธาตุโปแตสเซียมได้มากขึ้น มีบทบาทในการสังเคราะห์แสง การย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต
และเพิ่มคุณภาพทั้งรสชาติ ขนาด และน้ำหนักของผล เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต
เพราะโบรอนจะควบคุมการดูดและคายน้ำของพืชในขบวนการปรุงอาหารอีกทางหนึ่ง
หากขาดธาตุโบรอน
ส่วนที่จะแสดงอาการเริ่มแรกคืนยอดและใบอ่อน ส่วนที่ยอดและตายอดจะบิดงอ
ใบอ่อนบางและโปร่งใสผิดปกติ เส้นกลางใบหนากร้าน และตกกระ มีสารเหนียว ๆ
ออกมาตามเปลือกของลำต้น กิ่งก้านจะแลดูเหี่ยว ผลเล็กและแข็งผิดปกติ มีเปลือกหน้า
บางทีผลแตกเป็นแผลได้
อาการขาดธาตุนี้จะเห็นเด่นชัดเมื่อต้นพืชกระทบแล้งหรือขาดน้ำมาก
ๆ ควรทำการปรับปรุงดินอย่าให้เป็นกรด-ด่างมาก
และควรฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบที่มีองค์ประกอบของโบรอนด้วย
2. ธาตุสังกะสี (Zn) สังกะสีมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนพืช กล่าวคือ
พืชที่ขาดธาตุสังกะสีจะให้ปริ
มาณฮอร์โมน IAA ในตายอดลดลง ทำให้ตายอดและข้อปล้องไม่ขยาย
ใบออกมาซ้อน ๆ กัน
นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำย่อยของพืชหลายชนิดในการสร้างอาหารและสังเคราะห์แสง
จึงมีผลทางอ้อมในการสร้างส่วนสีเขียวของพืช
การแก้ไขที่และและให้ผลแน่นอนคือการฉีดพ่นทางใบ
ด้วยธาตุอาหารเสริมที่มีธาตุสังกะสีเป็นองค์ประกอบ
3. ธาตุเหล็ก (Fe) ธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบของโปรตีน
และมีบทบาทสำคัญในการปรุงอาหารของพืช ช่วยกระตุ้นให้การหายใจและการปรุงอาหารของพืชเป็นไปอย่างสมบูรณ์
อาการขาดธาตุเหล็กจะแสดงออกทั้งทางใบและทางผล
อาการเริ่มแรกจะสังเกตพบว่าใบอ่อนบริเวณเส้นใบยังคงมีคามเขียว
แต่พื้นใบจะเริ่มเหลืองซีด ส่วนใบแก่ยังคงมีอาการปกติ ระยะต่อมาจะเหลืองซีดทั้งใบ
ขนาดใบจะเล็กลงกว่าปกติและจะร่วงไปก่อนใบแก่เต็มที่ กิ่งแห้งตาย
ส่วนอาการที่เกิดขึ้นกับผลผลิตคือผลผลิตจะลดลง ขนาดของผลเล็กและผิวไม่สวย
ผิวเรียบและเกรียม การขาดธาตุเหล็กยังมีผลต่อการนเจริญของยอดอ่อนด้วย
การแก้ไข
ตามปกติช่วงความเป็นกรด-ด่างของดินที่พืชสามารถนำธาตุเหล็กไปใช้ได้คือ ค่า pH ระหว่าง 5.5-5.6 แต่ถ้าค่า pH ต่ำกว่านี้
จะทำให้ปริมาณของธาตุเหล็กมีมากเกินไปจนก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อพืชได้
ธาตุเหล็กจะไปตรึงธาตุฟอสฟอรัสไว้จนพืชไม่สามารถนำไปใช้ได้
การแก้ไขด้วยการฉีดพ่นธาตุอาหารเสริมทางใบ เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการขาดธาตุเหล็กได้
4. ธาตุทองแดง (Cu) หน้าที่ของธาตุทองแดง มีผลต่อพืชโดยอ้อม
ในการสร้างส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช ช่วยเพิ่มโมเลกุลของคลอโรฟิลล์
และป้องกันการถูกทำลายส่วนสีเขียว นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยในพืช
ซึ่งมี
ผลต่อการปรุงอาหารยังผลต่อการเจริญเติบโตและการติดดอกออกผล
ธาตุทองแดงยังช่วยให้ต้นพืชสามารถดูดเอาธาตุเหล็กที่อยู่ในดินนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
อาการของพืชที่ขาดธาตุทองแดงใบพืชจะมีสีเขียวจัดผิดปกติ แล้วต่อมาจะค่อย ๆ
เหลืองลง ๆ โดยแสดงอาการจะยอดลงมาถึงโคน อาการขาดธาตุทองแดงพบมากในเขตดินเปรี้ยว
การใช้ปุ๋ยฟอสเฟตอาจช่วยได้ หรือฉีดพ่นด้วยธาตุอาหารเสริม (ที่มีทองแดงประกอบ)
ทางใบ
5. ธาตุแมงกานีส (Mn) ธาตุนี้มีผลกระทบต่อใบ
เนื่องจากมีบทบาทในการสั่งเคราะห์แสง เป็นตัวกระตุ้นการ
ทำงานของน้ำย่อยในต้นพืช
และยังควบคุมกิจกรรมของธาตุเหล็กและไนโตรเจนในต้นพืชอีกด้วย
พืชที่ขาดธาตุแมงกานีสใบจะออกสีเหลือง ๆ
ส่วนเส้นใบจะเขียวอยู่ปกติ โดยเฉพาะใบอ่อนอาจเกิดเป็นจุดขาว ๆ หรือจุดเหลืองที่ใบ
ต้นโตช้า ใบไม่สมบูรณ์ พุ่มต้นโปร่ง
พืชที่แสดงอาการขาดธาตุแมงกานีส ต้องฉีดพ่นเข้าทางใบด้วยธาตุอาหารเสริมที่มีองค์ประกอบของธาตุแมงกานีส
6. ธาตุโมลิบดินัม (Mo) บทบาทและหน้าที่ของธาตุโมลิบดินัมในพืชนั้น
ทำให้การทำงานของธาตุไนโตรเจนในพืชสมบูรณ์ขึ้น นอกจากนี้
ยังจำเป็นสำหรับขบวนการสร้างสารสีเขียวและน้ำย่อยภายในพืชบางชนิดด้วย
พืชที่ขาดธาตุนี้ ที่ใบแจะเป็นจุดด่างเป็นด้วย ๆ
ในขนะที่เส้นใบยังเขียวอยู่ ถ้าขาดธาตุนี้รุนแรง ใบจะม้วยเข้าข้างใน
ลักษณะที่ปลายและขอบใบจะแห้ง ดอกร่วง และผลเคระแกรนไม่เติบโตเต็มที่
7. ธาตุคลอรีน (Cl) คอลรีนมีความสำคัญต่อขบวนการสังเคราะห์แสง มีผลทำให้พืชแก่เร็วขึ้น
พืชที่ขาดธาตุคลอรีนใบจะซีด เหี่ยว และใบสีเหลืองบรอนซ์
ถ้ามีคลอรีนมากจำทำให้ของใบแห้ง ใบจะเหลืองก่อนกำหนด
การเปรียบเทียบธาตุอาหาร
การผลิตปุ๋ยหมักใช้เองโดยให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่จะใช้งานจำเป็นต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่พืชแต่ละชนิด การผลิตปุ๋ยจะต้องให้ตรงกับความต้องการของต้นพืช ในแต่ละช่วงระยะ เช่น ช่วงการเจริญเติบโต ระยะเวลา การออกดอก ระยะเวลาการผลิตผล และการรักษา บำรุง ซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอของต้นพืช ให้มีความเจริยงอกงาม ตามระยะเวลาที่เมาะสม การเพิ่มสารอาหารแก่ต้นพืช ต้องศึกษาว่าช่วงใดต้นพืชต้องการ ไนโตรเจน(N) สูงระยะเวลาใดต้องการ หรือไม่ต้องการ ฟอสฟอรัส (P) และโปตัสเซี่ยม (K) การให้ปุ๋ยที่ตรงกับความต้องการของพืชจะต้องศึกษาว่าการผลิตปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพควรจะใช้ มูลสัตว์ชนิดใด ที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของพืชในระยะเวลาหนึ่งๆ เนื่องจากค่าไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปตัสเซี่ยม(K) ในมูลสัตว์แต่ละชนิดมีค่าแตกต่างกัน การผลิตปุ๋ยหมักจึงต้องคำนึงถึงการนำมูลสัตว์และปริมาณการใช้ที่ถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนการเลือกมูลสัตว์ที่จะนำไปใช้ในการผลิต ปุ๋ยหมัก จะต้องให้มีความชื้นน้อยที่สุด จะทำให้ค่าของมูลสัตว์ไม่เปลี่ยนแปลงในการคำนวณปริมาณการนำไปใช้
อัตราส่วนธาตุอาหารของมูลสัตว์ ที่ได้ศึกษาหาค่าเป็นร้อยละของ ความเป็นปุ๋ย วัดค่าได้ตามตารางต่อไปนี้
มูลสัตว์
|
ค่า N
|
ค่า P
|
ค่า K
|
รวม
|
(%)
|
(%)
|
(%)
|
(%)
|
มูลวัว
|
1.1
|
0.4
|
1.6
|
3.1
|
มูลหมู
|
1.3
|
2.4
|
1.0
|
4.7
|
มูลไก่ (ไข่)
|
2.7
|
6.3
|
2.0
|
11.0
|
มูลค้างคาว
|
3.1
|
12.2
|
0.6
|
15.9
|
จากตารางดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ค่าของปุ๋ยในมูลสัตว์แต่ละชนิด ให้ค่าเป็นปุ๋ยแก่พืชไม่เท่ากัน การทำปุ๋ยหมักให้มีคุณภาพและได้ผลดีแก่พืชแต่ละชนิด ให้ผลไม่เท่ากันด้วย การทำปุ๋ยหมักผู้ผลิตจะใช้มูลสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่ง อาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร จึงต้องศึกษาว่าปุ๋ยหมักที่จะผลิตนั้น เพื่อจะนำไปเสริมสร้างส่วนใดของต้นพืช ดังนั้นการผลิตปุ๋ยหมักเพื่อนำไปใช้ให้ตรงกับความต้องการ ควรปฏิบัติดังนี้
1. การทำปุ๋ยหมักเพื่อบำรุงลำต้น และใบ เพื่อใช้กับแปลงผักประเภทรับประทานใบ และลำต้น หรือพืชยืนต้นระยะเริ่มแรกที่ยังไม่ถึงระยะเวลาให้ผล การทำปุ๋ยหมักให้ใช้มูลสัตว์รวมหลายๆชนิด เพื่อเสริมสร้างส่วนต่างๆของพืชให้ครบถ้วน
2. การทำปุ๋ยหมักเพื่อเร่งดอก และให้มีผลดก การทำปุ๋ยหมักควรใช้ มูลไก่ (ไข่) และมูลค้างคาว เนื่องจากมูลสัตว์ 2 ชนิดนี้ ทีค่าฟอสฟอรัส (P) สูง หากผู้ผลิตไม่มีมูลค้างคาว เนื่องจากจะหายากในบางพื้นที่ ก็ให้ใช้มูลไก่ (ไข่) ชนิดเดียว แต่เพิ่มปริมาณ เป็น 2 เท่า จะทำให้พืชเร่งออกดอก และมีผลดกมาก
3. การทำปุ๋ยหมักเพื่อบำรุงให้ผลโตและความสมบูรณ์ มีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย การทำปุ๋ยหมัก สูตรนี้ให้ใช้มูลวัวและมูลไก่ (ไข่) เนื่องจากมูลสัตว์ 2 ชนิดนี้ มีธาตุอาหารประเภทโปรตัสเซี่ยม (K) มากกว่ามูลสัตว์ประเภทอื่นๆ
เปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยหมักกับปุ๋ยเคมี
ในการทำการเกษตร ผู้ผลิตโดยทั่วไปมีความเชื่อว่า การใช้ปุ๋ยเคมีใส่ต้นพืช จะทำให้ต้นพืชมีความเจริญเติบโตงอกงามได้รวดเร็วแน่นอน และใช้ปริมาณน้อย ขาดความเชื่อมั่นในการใช้ปุ๋ยหมัก ซึ่งคิดว่า
ต้องใช้ปริมาณมาก การทำยุ่งยาก และให้ผลต่อต้านพืชช้า จึงไม่นิยมใช้ปุ๋ยหมักในการปลูกพืช ระยะต่อมา ผลิตภัณฑ์จากพืชผลการเกษตรมีปัญหาด้านการตลาดราคาตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูงประสบปัญหาการขาดทุน แต่ไม่มีทางเลือก เกษตรกรยิ่งผลิตมาก ยิ่งขาดทุนมาก เกิด ปัญหาหนี้สิน ที่ไม่สามารถชำระเงินคืนแก่สถาบันการเงินได้ เป็น ปัญหา
ระดับชาติที่รัฐบาลทุกสมัยจะต้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหาอยู่อย่าง ต่อเนื่อง
อีกประเด็นหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ ผลจากการทำเกษตรก้าวหน้านอกจาก จะทำให้ ดินเสียแล้ว ต้องใช้สารเคมีปราบแมลงและศัตรูติดต่อมาเป็น
เวลานานสารตกค้างในดินที่โดนน้ำชะล้างลงแม่น้ำลำคลอง เป็นเหตุให้เกิดสิ่งแวดล้อมเป็นพิษแก่พืช สัตว์ และมนุษย์ ผลกระทบต่อสุขภาพ เกษตรกรได้รับสารพิษจากสารเคมี ซึ่งใช้ฉีดพ่นในแปลงพืชเป็นระยะเวลาติดต่อกันนานๆ เป็นผลให้ร่างกายสะสมสารพิษไว้มาก เกิดอาการเจ็บป่วย เป็นโรคร้ายแรงถึงขั้นพิการและเสียชีวิต ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เป็นภาระแก่ครอบครัวที่อาจจะต้องสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินเงินทอง นอกจากนั้นผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีสารพิษตกค้าง เมื่อสะสมเป็นระยะเวลานาน ทำให้ต้องเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตรอีกด้านหนึ่งด้วย จากผลกระทบดังกล่าวยังตกเป็นภาระของทางรัฐบาลที่ต้องทุ่มงบประมาณด้านสาธารณะสุข เพิ่มขึ้นปีละมากๆตามไปด้วย
การผลิตพืชผัก เกษตรกรเครือข่ายการผลิตผัก
โครงการพัฒนาเกษตรยั่งยืน ในพื้นที่ จังหวัดสิงห์บุรี ใช้ไม่พบ
ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ ในการผลิตผักรายละ 1 ไร่
ดังข้อมูลการผลิตในปี 2543 โดยปฏิบัติดังนี้
1. ไถดะและไถแปรอย่างละครั้ง
แล้วตากดินไว้อย่างน้อย 7 วัน
2. ชักร่อง ย่อยดิน ใส่ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ
อัตราประมาณ 2 กิโลกรัม/ตาราเมตร ถ้าเป็นดินทราย ใส่ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ
อัตราประมาณ 4 กิโลกรัม/ตารางเมตร หากดินร่วน ใส่ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ อัตราประมาณ
1.5 กิโลกรัม/ตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน
รดน้ำให้ชื้นแล้วใช้น้ำชีวภาพและกากน้ำตาลอย่างละ 5 ลิตรผสมกับน้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่
3.ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพในอัตราเดียวกับข้อ
2 ซ้ำอีกครั้งในตอนเช้าหรือเย็นของวันถัดไป คลุมฟางหรือคลุมพลาสติก
ให้ดินมีความชื้น นานประมาณ 7วัน
4. ผักกินใบและกินผล
ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสูตร1 สูตรถั่วเหลือง สูตรนมสด สูตรใดสูตรหนึ่ง อัตรา
30-50 CC/น้ำ 20
ลิตร หลังเมล็ดงอกหรือย้ายกล้าประมาณ 7 วัน ในผักกินใบ ระยะออกดอกและติดผล
ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ สูตร 3 สูตร 4 สูตรนมสด สูตรถั่วเหลือง
สูตรใดสูตรหนึ่ง อัตรา 30-50 CC/น้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน กรณีมีโรคที่เกิดจากเชื้อราหรือแมลงศัตรูพืช
ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสมุนไพรป้องกันกำจัดเชื้อราหรือปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชผสมรวมไปด้วย
โดยใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพผสมรวมทั้งหมดในอัตรา 30-50 CC/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นหรือให้พร้อมกับน้ำระบบสปริงเกอร์
ทุก 5-7 วัน
5. ผักกินใบ
โรยแต่งหน้าให้ทั่งแปลงด้วยปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ ทุก 15 วัน
หลังเมล็ดงอกหรือย้ายกล้า อัตราประมาณ 1 กิโลกรัม/ตารางเมตร ส่วนผักกินผล
ใช้ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพโรยบริเวณโคนต้นในระยะติดผลและหลังเก็บผลผลิตอัตรา 50-100
กรัม/ต้น
...........................................................................................
แหล่งที่มา : สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประสบการณ์ผู้ใช้ปุ๋ยวินโกลด์